วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไฮเปอร์เท็กซ์

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ โดยการนำข้อความที่ใช้ มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะมีลักษณะเด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ประกอบด้วย
พอยต์ (Point) หมายถึง กลุ่มคำ หรือ วลี ที่เป็นข้อความพิเศษ ที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี หรือตัวหนา เพื่อทำให้รู้ว่า เป็น พอยต์ เมื่อผู้อ่านเลื่อนเคอร์เซอร์มาถึงพอยต์ เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์อื่น เช่น รูปมือ
โหนด (Node) หมายถึง กลุ่มคำของข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งในโหนดนั้น อาจมีพอยต์มากกว่าหนึ่งพอยต์ก็ได้ ความหมายของโหนดนั้นไม่สามารถระบุได้ตายตัว โหนดหนึ่งโหนดอาจเปรียบเทียบได้กับเนื้อหาข้อมูลที่เขียนขึ้นมาอยู่บนกระดาษแผ่นเดียวกัน
ลิงค์ (Link)  หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปปลายทาง จำแนกลิงค์ออกได้เป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย
  1. ลิงค์ชนิดอ้างถึง (Referential Link)  ใช้สำหรับเชื่อมโยงโดยอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด เช่น ปุ่มที่มีข้อความลิงค์ไปข้างหน้า หรือย้อนกลับ
  2. ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (Organization Link) มีความคล้ายคลึงกับลิงค์ชนิดอ้างถึง จะแตกต่างกันตรงที่ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างโหนดด้วยกันในลักษณะที่เป็นโครงสร้างเป็นชั้นๆ  (ไฮราคี่)
  3. ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (Keyword Link) เป็นการนำกลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและสัมพันธ์ระหว่างกันมาเชื่อมโยงด้วยวิธีการเดียวกับการลิงค์ชนิดอ้างถึงหรือแผนภูมิ
ประโยชน์ของระบบไฮเปอร์เท็กซ์
ประโยชน์ของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ นอกจากจะสามารถบริหารจัดการ เชื่อมโยงและติดต่อข้อมูลเพื่อสื่อความหมายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและยังสามารถทำให้ผู้ใช้เลือกใช้เส้นทางที่สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะไปข้างหน้าหรือย้อนกลับในเส้นทางเดิมได้และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานในระบบไฮเปอร์เท็กซ์จะมีการเชื่อมโยงที่ไม่เป็นแนวเส้นตรง เป็นต้น
ปัญหาและแนวทางแก้ไขในระบบไฮเปอร์เท็กซ์
            ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเกี่ยวข้อกับผู้ใช้งาน ที่มักจะหลงทางเข้าไปติดอยู่ในวังวน และการแสดงผลของข้อมูลที่พบเจอนั้นมีมากจนเกินไป โดยเฉพาะกับระบบที่ออกแบบไว้ยังไม่ดีพอ
ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือค้นหาวิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูล (Presentation) การนำทาง (Navigation) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างอิสระและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น