วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไฮเปอร์เท็กซ์

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ โดยการนำข้อความที่ใช้ มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะมีลักษณะเด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ประกอบด้วย
พอยต์ (Point) หมายถึง กลุ่มคำ หรือ วลี ที่เป็นข้อความพิเศษ ที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี หรือตัวหนา เพื่อทำให้รู้ว่า เป็น พอยต์ เมื่อผู้อ่านเลื่อนเคอร์เซอร์มาถึงพอยต์ เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์อื่น เช่น รูปมือ
โหนด (Node) หมายถึง กลุ่มคำของข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งในโหนดนั้น อาจมีพอยต์มากกว่าหนึ่งพอยต์ก็ได้ ความหมายของโหนดนั้นไม่สามารถระบุได้ตายตัว โหนดหนึ่งโหนดอาจเปรียบเทียบได้กับเนื้อหาข้อมูลที่เขียนขึ้นมาอยู่บนกระดาษแผ่นเดียวกัน
ลิงค์ (Link)  หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปปลายทาง จำแนกลิงค์ออกได้เป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย
  1. ลิงค์ชนิดอ้างถึง (Referential Link)  ใช้สำหรับเชื่อมโยงโดยอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด เช่น ปุ่มที่มีข้อความลิงค์ไปข้างหน้า หรือย้อนกลับ
  2. ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (Organization Link) มีความคล้ายคลึงกับลิงค์ชนิดอ้างถึง จะแตกต่างกันตรงที่ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างโหนดด้วยกันในลักษณะที่เป็นโครงสร้างเป็นชั้นๆ  (ไฮราคี่)
  3. ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (Keyword Link) เป็นการนำกลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและสัมพันธ์ระหว่างกันมาเชื่อมโยงด้วยวิธีการเดียวกับการลิงค์ชนิดอ้างถึงหรือแผนภูมิ
ประโยชน์ของระบบไฮเปอร์เท็กซ์
ประโยชน์ของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ นอกจากจะสามารถบริหารจัดการ เชื่อมโยงและติดต่อข้อมูลเพื่อสื่อความหมายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและยังสามารถทำให้ผู้ใช้เลือกใช้เส้นทางที่สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะไปข้างหน้าหรือย้อนกลับในเส้นทางเดิมได้และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานในระบบไฮเปอร์เท็กซ์จะมีการเชื่อมโยงที่ไม่เป็นแนวเส้นตรง เป็นต้น
ปัญหาและแนวทางแก้ไขในระบบไฮเปอร์เท็กซ์
            ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเกี่ยวข้อกับผู้ใช้งาน ที่มักจะหลงทางเข้าไปติดอยู่ในวังวน และการแสดงผลของข้อมูลที่พบเจอนั้นมีมากจนเกินไป โดยเฉพาะกับระบบที่ออกแบบไว้ยังไม่ดีพอ
ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือค้นหาวิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูล (Presentation) การนำทาง (Navigation) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างอิสระและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น

Kid Painter






ดาวน์โหลดโปรแกรม Kid Painter ฟรี ฝึกและพัฒนาทักษะการวาดภาพและการตกแต่งภาพสำหรับเด็ก เพื่อจะได้ดูถึงความสามารถ และจินตนาการของเด็ก ก่อนจะก้าวสู่มืออาชีพในอนาคตต่อไป 


RocketReader Kids (โปรแกรมสำหรับเด็ก ฝึกอ่าน อ่านออกเสียง สะกดคำ)






RocketReader Kids โปรแกรมสำหรับเด็ก ฝึกอ่าน อ่านออกเสียง สะกดคำ โปรแกรม RocketReader Kids เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการศึกษาโปรแกรมนี้สำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 7 ปี เพื่อช่วยให้น้องๆ หนูๆ ฝึกอ่านอย่างมั่นใจ 

      http://namkwanmay.wordpress.com

ตัวอย่าง รูปเล่มโครงงานคอมพิวเตอร์ : ให้นักเรียนศึกษา


วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ต้นไม้เพื่อโลก Wild for earth

ชื่อโครงการ
ต้นไม้เพื่อโลก Wild for earth

บทคัดย่อ
เพื่อให้บุคคลโดยทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่โดยการปลูกป่าทดแทน ด้วยวิธีการเล่นเกมส์โดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ คือเราจะกำหนดเวลาในแต่ละด่าน เพื่อฝึกให้ผู้เล่นรู้จักการทำงานแข่งกับเวลาโดยแต่ละด่านเราจะมีเวลาให้ผู้เล่นคือ 3 นาที ซึ่งเราจะกำหนดให้มีจำนวนต้นไม้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละด่านซึ่งด่านแรกเราจะมีต้นไม้ให้ปลูกจำนวน 10 ต้น ซึ่งต้นไม้แต่ละต้นจะใช้เวลาในการปลูกรวม 13 วินาที แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราปลูกต้นไม้ต้นแรกแล้วระหว่างที่เรารอให้ต้นไม้โตเราก็สามารถที่จะปลูกต้นไม้อีกต้นได้เหมือนกัน เมื่อเราผ่านด่านแล้วจำนวนต้นไม้ที่จะปลูกจะมีเพิ่มขึ้นอีก 5 ต้นในแต่ละด่านต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกมส์นี้จะมีทั้งหมด 5 ด่าน แล้วก็จบเกมส์










วัตถุประสงค์

              เสริมสร้างให้ทุกคนรักธรรมชาติ เพื่อให้บุคคลโดยทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน และช่วยกันอนุรักษ์   ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่โดยการปลูกป่าทดแทน ด้วยวิธีการเล่นเกมส์โดยใช้คอมพิวเตอร์


อุปกรณ์   - คอมพิวเตอร์
             -อินเตอร์เน็ต

โปรแกรม - Java 
             - Flash 

ประโยชน์ที่ได้รับ  ให้ทุกคนได้ร่วมใจกันรักษาสิ่งแวดล้อม และให้เข้าถึงบุคคลได้ทุกกลุ่มอายุ

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Enpass Password Manager Review and Tutorial

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนต


อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
อินเทอร์เน็ต

2.4 รูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
ooooo1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้
oooooองค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
ooooo1. โทรศัพท์
ooooo2. เครื่องคอมพิวเตอร์
ooooo3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
ooooo4. โมเด็ม (Modem)
ooooo2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
ooooo1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
ooooo2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 – 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
ooooo3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)oผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้

 การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่ 
ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้
การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)

                           2.สายโทรศัพท์
3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)
           
ขั้นตอน
1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking  ตามลำดับ ดังภาพ
2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect  ดังภาพ
3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next
4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next
5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish
6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ
7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect
8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้
9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง
เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง


ในตอนนี้จะได้แนะนำวิธีการต่อเชื่อมอินเทอร์เนตแบบ  Local Area Network (LAN) หรือเชื่อมต่อจากภายในองค์กร จริงแล้วการเชื่อมต่อดังกล่าว หากหน่วยงานของท่านมีบริการ DHCP ท่านก็แทบไม่ต้องติดตั้งแก้ไขใดๆเลย แต่หากหน่วยงานท่านไม่มีบริการ DHCP ดังกล่าวท่านจำเป็นต้องติดตั้งค่าเกี่ยวกับ IP ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยทานจำเป็นที่จะต้องขอชุด IP จากหน่วยงานผู้ให้บริการก่อน เมื่อได้มาแล้วก็สามารถติดตั้งค่าได้ดังนี้
การเชื่อมต่อแบบ  Local Area Network (LAN) หรือเชื่อมต่อจากภายในองค์กร
1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Control Panel ตามลำดับ ดังภาพ

2.จะได้กรอบ Control ให้ดับเบิลคลิกที่ Network

3. จะได้กรอบ Network ให้เลือกที่ TCP/IP ที่ตรงกับ LAN Card ของท่าน แล้วดับเบิลคลิก

4. จากนั้นจะได้กรอบ TCP/IP ที่แทบ IP Address
ให้คลิกที่ Specify an IP Address แล้วพิมพ์ IP Address และ Subnet  Mask ลงไป


5. และต่อไปให้คลิกที่แทบ Gateway ในช่อง New Gateway ให้พิมพ์ค่า Gateway เสร็จแล้วกดปุ่ม Add

ุ6. และที่แทบ DNS Configuration ให้คลิกที่ Enable DNSให้พิมพ์ Host, Domain ลงไป
และกำหนดค่า DNS ในช่อง DNS Server Search Order เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Add ด้วย
เรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม OK


สุดท้ายโปรแกรมก็จะสั่งให้ Restart เครื่อง ให้ทำการ Restart เท่านี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการแก้ไขติดตั้งเพื่อการเชื่อมต่อแบบ  Local Area Network (LAN) หรือการเชื่อมต่อจากภายในองค์กร

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หลุด iPhone 6 ผ่านเคส

มาแล้ว!!! หลุดภาพ iPhone 6 ของจริงผ่านเคส Spigen พร้อมขาย 30 กย.นี้




งานนี้เรียกได้ว่าคอนเฟิร์มเกือบจะ 100% ได้แล้วว่า iPhone 6 หน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร โดยที่ทางผู้ผลิตเคส Spigen ได้ส่งข้อมูลเคสของ iPhone 6 ขึ้นทางเว็บ Amazon เป็นที่เรียบร้อยแล้ว!!!
ต้องบอกว่างานนี้ Spigen ทำหลุดอีกเช่นเคย เพราะครั้งก่อนกับ Samsung Galaxy S5 ก็มีหลุดหน้าตามาผ่านทาง Amazon ของ Spigen เหมือนกัน โดยที่ตัวที่หลุดนี้เป็น iPhone 6 รุ่นหน้าจอ 4.7 นิ้ว ก็เป็นการคอนเฟิร์มอีกครั้งว่า iPhone ตัวต่อไปจอใหญ่ขึ้นแน่นอน แต่ว่าสินค้าเคสยังไม่มีของรุ่น 5.5 นิ้ว ที่ตอนนี้มีข่าวลือว่า Apple อาจจะผลิตไม่ทันและจะปล่อยเฉพาะตัว 4.7 นิ้วออกมาก่อน
ตัวเคสของ Spigen จะมี 4 แบบด้วยกันคือ Air cushion Case BumperNon Slip Perfect FitAir Cushion Slim Armor และ Perfect Fit แบบเปิดโลโก้
ว่าไปแล้วหน้าตาของมันคนละเรื่องกับที่เป็น Mock Up ที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้กันแบบคนละเรื่องเลย โดยที่ตัวนี้ดีไซน์จะยังคล้ายกับ iPhone 5 จะมีเปลี่ยนไปตรงที่ปุ่ม Power ถูกย้ายจากด้านบนมาไว้ที่ด้านข้างของเครื่องแทน

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

CMOS
          CMOS (ซีมอส) ย่อมาจาก "Complementary Metal Oxide Semiconductor" เป็นชิปไอซีที่ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นค่าเฉพาะของแต่ละระบบ เพื่อให้ Bios (ไบออส) นำไปใช้ในการบู๊ตระบบ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOS เช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์ และไดรว์ซีดี/ดีวีดี, การปรับค่าความเร็วในการอ่านเขียนของแรม เป็นต้น เป็นชิปสารกึ่งตัวนำที่ถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดเลย เราจะมองไม่เห็นตัวชิปเพราะมันถูกผนวกเข้ากับชิปเซ็ต ชิป CMOS เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้กินไฟน้อย และทำงานได้เร็ว

CMOS1

          เนื่องจาก CMOS ใช้เทคโนโลยีเดียวกับแรมทำให้ต้องการไฟเลี้ยงจากแบตเตอรรี่ (CMOS battery) เพื่อให้ข้อมูลคงอยู่ หากแบตเตอรี่หมดข้อมูลก็จะหายไป ก็จำเป็นต้องเซ็ตค่าต่าง ๆ กันใหม่ใน CMOS Setup บางครั้งที่เครื่องเสีย เช่น มีการโอเวอร์คล็อก คือ ปรับสปีดความถี่แล้วเครื่องรับไม่ได้ เมื่อเปิดเครื่องก็จะไม่ยอมบู๊ต เราก็จะใช้การ clear CMOS โดยการถอดแบตเตอรี่ เพื่อเครียร์ค่าการเซ็ตอัพ

แบตเตอรี่ CMOS
CMOS2

          แบตเตอรี่ หรือ บ้านเราเรียกกันว่า "ถ่านซีมอส (CMOS batteries) หรือแบตเตอรี่แบคอัพ" ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้กับซีมอส เนื่องจาก CMOS นั้นใช้เทคโนโลยีของแรมจึงต้องมีไฟเลี้ยงเพื่อป้องกันค่าการเซ็ตอัพภายในสูญหาย
          ในยุคแรกแบตเตอรี่มักจะมีลักษณะเป็นกระป๋อง ติดตั้งไว้บนเมนบอร์ด แต่แบตเตอรี่แบบนี้จะสร้างออกไซด์ขึ้นมารอบตัวมัน และไปกัดกินวงจร ต่อมาจึงเลิกใช้ และเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แบบ ลิเธียม (Lithium Battery) ที่มีลักษณะกลมแบนเหมือนเหรียญหน้าตาคล้ายถ่านนาฬิกา แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า สำหรับอายุการใช้งานของถ่านไบออส ตามมารตรฐานแล้วจะมีอายุถึง 10 ปี อย่างไรก็ตามเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และสภาพแวดล้อมภายในคอมพิวเตอร์
          ในการทำงานนั้น ทั้ง BIOS และ CMOS ก็จะทำงานร่วมกันโดย BIOS จะใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน CMOS ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่เกิดจากการเซ็ตอัพโดยผู้ใช้เอง ซึ่งจะเป็นข้อมูลเฉพาะของเครื่อง ฉะนั้นทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดเครื่อง BIOS ก็จะไปดึง
ข้อมูลที่กำหนดไว้จาก CMOS


Keyboard (คีย์บอร์ด) คืออะไร



Keyboard
          Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
          แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่น แรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระ PCXT ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น
          ประเภทของ Keyboard ดูได้จากจำนวนปุ่ม และรูปแบบการใช้งาน Key board ที่มีอยู่ปัจจุบันจะมีอยู่ 5 แบบ

          1. Desktop Keyboard
          ซึ่ง Keyboard มาตรฐาน จะเป็นชนิด 101 คีย์ 






          2. Desktop Keyboard with hot keys
          เป็น Keyboard ที่มีจำนวนคีย์มากกว่า 101 คีย์ ขึ้นไปแล้วแต่วัตถุประสงค์ใช้งาน ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษ สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นไป 

Desktop-Keyboard-with-hot-keys

          3. Wireless Keyboard
          Keyboard ไร้สายเป็น Keyboard ที่ทำงานโดยไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่จะมีอุปกรณ์ ที่รับสัญญาณจากตัว Keyboard อีกทีหนึ่ง การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่ 27 MHz อุปกรณ์ชนิด นี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์ Mouse ด้วย 

Wireless-Keyboard
          4. Security Keyboard
          รูปร่างและรูปแบบการทำงานจะเหมือนกับ Keyboard แบบ Desktop แต่จะมีช่องสำหรับเสียบ Smart Card เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ Keyboard ชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ ปลอดภัยสูง หรือใช้ควบคุมเครื่อง Server ที่ยอมให้เฉพาะ Admin เท่านั้นเป็นคนเปลี่ยนแปลงข้อมูล 

Security-Keyboard
          5. Notebook Keyboard
          เป็น Keyboard ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดบางเบา ขนาดความกว้าง และยาวจะขึ้นอยู่กับเครื่อง Notebook ที่ใช้ปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ติดกันและบางมาก คีย์พิเศษต่างจะถูกลด และเพิ่มเฉพาะปุ่มที่จำ เป็นในการ Present งาน หรือ การพักเครื่องเพื่อประหยัดพลังงาน 

Notebook-Keyboard





ความแตกต่างของ EIS กับ GDSS



DGSS เป็นระบบสารสนเทศชนิดหนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ และให้การสนับสนุน สามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semistructured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งระบบ DSS สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารหรือพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เท่านั้น ไม้ได้ใช้แทนการทำงานของมนุษย์  

ประโยชน์ของ GDSS7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive 
Information System: EIS) 

     ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบ EIS

     - มีการใช้งานบ่อย
     - ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
     - ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
     - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
     - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
     - ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
     - การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
     - ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด

ความแตกต่าง

DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป